วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

บอกความหมายของเว็บต่างๆ

Web Page   หมายถึง    เอกสารเว็บชนิดหนึ่งหมาะสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงเว็บเพจบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บเพจก็คือสิ่งที่ปรากฏออกมา แต่ศัพท์นี้ก็ยังหมายถึงแฟ้มคอมพิวเตอร์ที่มักจะเขียนเป็นเอชทีเอ็มแอลหรือภาษามาร์กอัปที่เทียบเคียงได้ ซึ่งมีลักษณะเด่นอันเป็นหลักก็คือ การจัดเตรียมข้อความหลายมิติที่จะนำไปสู่ เว็บเพจอื่น ผ่านทางลิงก์ เว็บเบราว์เซอร์จะประสานงานกับทรัพยากรเว็บที่อยู่โดยรอบเว็บเพจที่เขียน อาทิสไตล์ชีต สคริปต์ และรูปภาพ เพื่อนำเสนอเว็บเพจนั้น
*ที่มา https://sites.google.com

Web site  หมายถึง   หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
*ที่มา https://th.wikipedia.org

HomePage  หมายถึง   คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย
*ที่มา  http://www.mindphp.com

Web Browser     หมายถึง    เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
*ที่มา  https://th.wikipedia.org

Domain Name  หมายถึง   ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ "ชื่อเว็บไซต์" คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป
*ที่มา  http://domain-name.gict.co.th

URL(Uniform Resouire Locator)  หมายถึง  ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต หรือ โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล [1] (อังกฤษ: Uniform Resource Locator, Universal Resource Locator) เรียกโดยย่อว่า ยูอาร์แอล (อังกฤษ: URL) คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ยูอาร์แอลแทนความหมายที่คล้ายกับยูอาร์ไอ [2] ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องและอาจทำให้เกิดความสับสน ในภาษาพูดทั่วไป ยูอาร์แอลอาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือ ที่อยู่อินเทอร์เน็ต ก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์
*ที่มา https://th.wikipedia.org

IP (Internet Protocol)  หมายถึง   ย่อมาจาก internet protocol หมายถึง มาตรฐานที่สร้างขึ้นในเรื่องของการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเครื่องปลายทาง (terminal) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือตัวเลียนแบบ ดู TCP/IP ประกอบ 2. ย่อมาจาก intellectual property ที่แปลว่า ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ ซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์
*ที่มา  http://dictionary.sanook.com




TCP/IP (Transport Control Protocol/Internet Protocol)  หมายถึง   เป็นระบบโปรโตคอล การสื่อสารพื้นฐานของระบบอินเตอร์เน็ต มันสามารถใช้เป็น โปรโตคอลในการสื่อสารภายใน เครือข่ายส่วนบุคคล เรียกว่า intranet และ extranet เมื่อมีการติดต่อโดยตรงกับ internet เครื่องคอมพิวเตอร์จะได้รับการคัดลอกโปรแกรม TCP/IP เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เพื่อทำให้ส่งข้อความขอรับสารสนเทศ
*ที่มา http://isaratcpip.150m.com

Protocol หมายถึง  โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้
*ที่มา http://www.mindphp.com

ISP (Internet Service Provider)   หมายถึง    ISP หรือ Internet Service Provider เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้อยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ( Commercial ISP) และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-commercial ISP ) ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมากกว่า 20 ราย
*ที่มา  http://www.ipesp.ac.th

ASP (Application Service Provider)  หมายถึง  ริษัทหรือองค์กรที่ให้บริการใช้ซอฟต์แวร์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยที่เราไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เครื่องของเรา เพียงติดต่อขอเข้าใช้บริการซอฟต์แวร์ที่ต้องการที่เว็บไซต์นั้นและเสียค่าใช้จ่าย คุณก็สามารถใช้ซอฟต์แวร์ได้ตามต้องการ
*ที่มา http://www.kingrpg.net



IDC (Internet Data Center)  หมายถึง  บริการในการจัดเก็บรักษาข้อมูล และอุปกรณ์ ICT (เครื่อง Server, อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ) ให้กับธุรกิจและองค์กร เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น เนื่องจากในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจจะต้องมีการติดต่อสื่อสารรับส่งข้อมูลระหว่างกันตลอดเวลา เพราะมีการแข่งขันกันสูง
*ที่มา http://webhostingserver.technologyland.co.th

E-Commerce (Elertronic Commerce) หมายถึง  การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต
*ที่มา  http://www.baanjomyut.com

Hypertext  หมายถึง  การเรียกหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการรู้ ให้แสดงบนจอภาพ ซึ่งอาจมีทั้งข้อความที่ใช้อธิบาย หรือบางทีจะมีภาพประกอบ มีเสียง หรือมีการแสดงการเคลื่อนไหว ฯ ใช้มากในโฮมเพจต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต ส่วนมาก คำที่จะมีคำอธิบายเช่นนี้ มักจะเป็นคำที่ขีดเส้นใต้ไว้ หรือไม่ก็เป็นตัวดำหนา เมื่อลากเมาส์ไปวางที่คำเหล่านี้ ตัวชี้ตำแหน่งจะเปลี่ยนเป็นนิ้วชี้ ถ้ากดเมาส์ ก็จะมีรายละเอียดมาอธิบายให้ หรือจะโยงไปหารายละเอียดของเรื่องนั้นๆ
*ที่มา http://dictionary.sanook.com

Download  หมายถึง   การคัดลอกแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรม จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเข้า มาในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรากำลังใช้อยู่ โดยผ่านทางโมเด็ม ((modem) เป็นต้นว่าคัดลอกจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเข้ามาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง (เพื่อว่าภายหลังจะได้ใช้ตามลำพังได้)

Upload  หมายถึง  การถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งคอมพิวเตอร์ตัวส่งข้อมูลเรียกว่าเป็นตัวที่ทำการ "บรรจุขึ้น" ส่วนคอมพิวเตอร์ตัวรับข้อมูลเรียกว่าเป็นตัวที่ทำการ "บรรจุลง" ส่วนมากใช้ในการถ่ายโอนจากคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายไปไว้ในแม่ข่าย ซึ่งถือว่าสูงกว่า ถ้าเป็นการถ่ายโอนจากแม่ข่าย จะเรียกว่า "บรรจุลง" (download)
*ที่มา  http://dictionary.sanook.com

POP (Post Office Protocal)  หมายถึง  วิธีการรับและส่ง Email อีกรูปแบบหนึ่งทางอินเทอร์เน็ต โดยการใช้โปรแกรมอ่านเมล์ นั่นเอง ซึ่งทำให้สะดวก รวดเร็วมากขึ้น
*ที่มา https://blog.eduzones.com

Internet Address  หมายถึง  คือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User Name) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยมีรูปแบบ ดังนี้ชื่อผู้ใช้@ชื่ออินเทอร์เน็ต
*ที่มา  http://www.chaiwbi.com

IP Address  หมายถึง  เลขรหัสประจำคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดและมีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด ยกตัวอย่างเช่น 192.168.1.1 เป็นต้นหรือนิยมเรียกสั้นๆว่า IP ซึ่งตัวเลข IP แต่ละเครื่องจะไม่ซ้ำกัน ดังนั้น จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
Network Address
Computer Address
*ที่มา http://www.howto108.com

Mailing List  หมายถึง  กลุ่มรายชื่อของอีเมล์ซึ่งเมื่อคุณส่งอีเมล์ไปที่ mailing lists นั้น mailing lists จะช่วยทำการกระจายไปให้กับอีเมล์ที่อยู่ในกลุ่มโดยอัตโนมัติ เช่น สมมุติว่าคุณตั้งชื่อ maling list ว่า group@domain.com แล้วก็นำเอาอีเมล์ของผู้ที่ต้องการอยู่ในกลุ่มมาลงทะเบียนไว้กับโปรแกรมจัดการ mailing list ดังนั้นเมื่อบุคคลในกลุ่ม mailing lists ส่งอีเมล์ไปที่ group@domain.com ระบบก็จะช่วยทำการกระจายให้กับทุกคนในกลุ่ม

*ที่มา http://www.siaminterhost.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น